สมุนไพรน่ารู้ 2

รูปกล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า

กล้วยน้ำว้า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn. M.paradisaca Linn.
เป็นสมุนไพรไทยล้มลุก ใบเป็นแผ่นรูปใบพายขนาดใหญ่ ก้านใบเป็นกาบอัดกันแน่ยคล้ายลำต้น ดอกเป็นช่อเรียกหัวปลี ผลเป็นหวีติดต่อกันเป็นเครือ ออกผลครั้งเดียวแล้วตายไป
รักษาอาการท้องเสีย
ใช้ผลกล้วยน้ำว้าห่ามรับประทานครั้งละ ครึ่งถึง 1 ผล หรือใช้ผลดิบทั้งเปลือกแห้งบดเป็นผงครั้งละ 1-2 ช้อนกาแฟชงน้ำร้อนรับประทาน หรือปั้นเม็ดรับประทานครั้งละ 4 เม็ดวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น และก่อนนอน ถ้ามีอาการท้องอืด ใช้ร่วมกับน้ำขิงหรือน้ำต้มดอกกานพลู

กะเพรา

กะเพรา

กะเพรา
ชื่ออื่นๆเช่น กะเพราบ้าน,กะเพราแดง,กะเพราขาว,Sacred Basil,Holy Basil
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.
เป็นสมุนไพรไทยล้มลุก ขนาดเล็ก สูง 1-4 ฟุต ใบเดี่ยว รูปไข่กว้าง ขอบจัก มีขนละเอียด ดอกออกเป็นช่อตั้งที่ปลายกิ่ง เมล็ดเล็กๆสีน้ำตาลดำ ลำต้นแก่แข็ง กลิ่นหอม
รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ปวดท้อง
รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน
ใช้ใบและยอด(สด หนัก 25 กรัม-แห้งหนัก 4 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเหมาะสำหรับเด็กท้องอืด

กานพลู
ชื่ออื่นๆเช่น จันจี่(เหนือ),clove
ชื่อวิทยาศาสตร์ Eugenia caryophyllus(sprengel)Bullock et Harrison,Syzygium aromaticum(Linn)Merr.&Perry

กานพลู

กานพลู

เป็นสมุนไพรไทยยืนต้นขนาดกลาง ใบเดี่ยว รูปหอกปลายและโคนเรียวแหลม แข็งหนาเป็นมัน ดอกทรงกลม ก้านดอกโต กลิ่นหอมเผ็ดร้อน นิยมเก็บดอกตูมมาใช้ทำยา
รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด
ใช้ดอกตูมแห้ง 5-8 ดอก ต้มเอาน้ำดื่มหรือบดเป็นผง ชงน้ำร้อนรับประทาน หรือใช้ดอกแห้ง 2-3 ดอก แช่ในกระติกน้ำร้อนไว้ชงนมให้ทารก

ต้นแก้ว

ต้นแก้ว

แก้ว
ชี่ออื่นๆเช่น จ๊าพริก,ตะไหลแก้ว,แก้วพริก(เหนือ),แก้วขี้ไก่(ยะลา),กะมูนิง(ปัตตานี),Chaina Box Tree,Orange Jessamine,Adaman Satinwood
ชื่อวิทยาศาสตร์ Murraya paniculate(Linn.)Jack,M.exotica Linn.
เป็นสมุนไพรไทยทรงพุ่มขนาดย่อม ใบประกอบ ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน กลีบดอกขาว กลิ่นหอมจัดผลขนาดเล็กออกเป็นพวง ผิวมีต่อมน้ำมัน
รักษาอาการปวดฟัน
ใช้ใบสดตำพอแหลก แช่เหล้าโรง อัตราส่วน 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชาทิ้งไว้นาน 1-2 วัน ชุบสำลีปิดฟันที่ปวด
ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน

ขมิ้นชัน
ชี่ออื่นๆเช่น ขมิ้นทอง,ขมิ้นดี,ขมิ้นไข,ขมิ้นหยวก,ขี้มิ้น(ใต้,อีสาน),ขมิ้นแกง,Turmeric
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn.,C.domestica Valeton
เป็นสมุนไพรไทยจำพวกเหง้า ใบเป็นแผ่นรูปหอกปลายแหลม กาบใบแคบมีร่องเล็กๆสีเขียวอมน้ำตาล ดอกช่อใหญ่ออกจากเหง้าสีขาว เนื้อในเหง้ามีสีส้ม กลิ่นฉุน
รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด อาหารไม่ย่อย
ใช้เหง้าแห้งบดเป็นผงปั้นเม็ดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 2-3 เม็ด วันละ 3-4 ครั้งหลังอาหาร ถ้ากินขมิ้นแล้วท้องเสียให้หยุดยา
รักษาแผล พุพอง ฝี ผื่นคัน แพ้ อักเสบ แมลงสัตว์กัดต่อย
ใช้เหง้ายาว 2 นิ้ว ฝนกับน้ำต้มสุก ทาบริเวณที่เป็น วันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขมิ้นผงโรยบริเวณที่มีอาการ

รูปยาบรรเทาริดสีดวงทวาร เอส พี

Comments are closed.